«  March 2024  »
SunMonTueWedThuFriSat
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 

Statistics

OS : Linux s
PHP : 5.3.29
MySQL : 5.5.5-10.11.6-MariaDB-1:10.11.6+maria~ubu2204
เวลา : 00:%M
Caching : ปิดการใช้งาน
GZIP : ปิดการใช้งาน
สมาชิก : 7
Content : 201
เว็บลิงก์ : 20
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 4075833




มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 พิมพ์
เขียนโดย พีราวิชญ์ ภาคนนท์กุล   

มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 (อังกฤษ:International Horticulture Exposition for His Majesty the King; Royal Flora Ratchapruek 2006) หรือเรียกย่อๆว่า ราชพฤกษ์ 2549 เป็นงานมหกรรมจัดแสดงด้านพืชสวนกลางแจ้ง จัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2549 – 31 มกราคม 2550 ณ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ตำบลแม่เหียะ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ในนามของรัฐบาลไทย โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมวิชาการเกษตร และสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของสมาพันธ์ดอกไม้โลก (WFC) และสมาคมพืชสวนระหว่างประเทศ (ISHS) และการรับรองมาตรฐานมหกรรมระดับโลก ระดับ A1 (มาตรฐานมหกรรมขั้นสูงสุด) การจัดงานจาก สมาคมพืชสวนระหว่างประเทศ (AIPH) และสำนักงานมหกรรมโลก (BIE) โดยประเทศไทยนับเป็นประเทศที่สามในทวีปเอเชีย ที่ได้รับรองการจัดงานมหกรรมระดับโลกจาก BIE ต่อจากจีน และญี่ปุ่น

ชื่องาน

สำหรับการเขียนชื่อเต็มของงาน มักจะละพระนามพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวไว้ โดยมักเขียนว่า "มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ" แทนการเอ่ยชื่อเต็มของงานคือ "มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสทรงสิริราชสมบัติครบ 60 ปี และเจริญพระชนมายุครบ 80 พรรษา"

    

มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549
มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549  

 

ระยะเวลาการจัดงาน

มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 บนพื้นที่รวม 470 ไร่ จะมีการแสดง ความหลากหลายของพืชพรรณไม้ต่างๆ กว่า 2,200 ชนิด จำนวนกว่า 2 ล้าน 5 แสนต้น ซึ่งนับว่าเป็นมหกรรมพืชสวนโลกเขตร้อนชื้นที่สมบูรณ์ที่สุดของโลก

และเป็นหนึ่งในโครงการ ไทยแลนด์แกรนด์อินวิเตชั่น (Thailand Grand Invitation) ของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย

วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์หลักของงาน เป็นการเฉลิมฉลองเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จะทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีในวันที่ 9 มิถุนายน 2549 และจะทรงเจริญพระชนมายุครบ 80 พรรษาในวันที่ 5 ธันวาคม 2550 เพื่อเฉลิมพระเกียรติฯพระมหากษัตริย์ผู้เป็นมิ่งขวัญของปวงชนชาวไทย การจัดงานครั้งนี้ จึงกำหนดจัดอย่างยิ่งใหญ่ โดยมุ่งเน้นการเผยแผ่พระเกียรติคุณและพระอัจฉริยภาพในด้านการเกษตรกรรม และโครงการในพระราชดำริ ซึ่งได้ทรงคิดค้นและก่อตั้ง เพื่ออำนวยประโยชน์สุขให้แก่ประชาชนชาวไทย

การแบ่งพื้นที่จัดแสดง

งานราชพฤกษ์ 2549 แบ่งพื้นที่จัดแสดง เป็น 5 ส่วนคือ สวนเฉลิมพระเกียรติประเภทองค์กร (Corporate Garden) , สวนนานาชาติเฉลิมพระเกียรติ (International Garden) ส่วนจัดแสดงพันธุ์ไม้เขตร้อนชื้น (Tropical Garden) ส่วนจัดแสดงนิทรรศการในอาคาร (Indoor Exhibition) และส่วนจัดแสดงเฉลิมพระเกียรติหอคำหลวง (Royal Pavilion) ภายใต้แนวคิด "เพื่อนำความรักสู่มนุษยชาติ" (to Express the Love for Humanity") นอกจากนี้ยังเป็นส่วนการแสดงประกอบย่อยๆ แบ่งเป็นส่วนต่างๆ อีกดังนี้
  • อาคารหอคำหลวง เป็นส่วนเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในฐานะพระมหากษัตริย์นักการเกษตรของโลก
  • สวนไม้ผลไทยและอาคารแสดงนิทรรศการผลไม้
  • สวนรวบรวมพันธุ์ไม้เขตร้อนชื้นโดยจัดแบ่งกลุ่มการแสดงตามคุณลักษณะ
  • สวนนิทรรศการเกี่ยวกับยางพารา
  • อาคารแสดงพันธุ์ไม้เขตร้อน
  • อาคารแสดงพันธุ์ไม้เขตหนาว
  • อาคารแสดงการปลูกพืชไม่ใช้ดิน
  • อาคารแสดงเทคโนโลยีการเพาะเนื้อเยื้อ
  • ลานและเวทีการแสดงกลางแจ้ง
  • อาคารแสดงโลกแมลง
  • สนามเด็กเล่น

กิจกรรมในงานมีความหลากหลาย เช่น การละเล่นพื้นบ้าน การแสดงวัฒนธรรมนานาชาติ ดนตรีในสวน ขบวนพาเรด งานแสดงน้ำพุดนตรี การสัมมนาทางวิชาการ การบริการต่างๆ ได้แก่ ศูนย์อาหาร การสื่อสาร การพยาบาล การท่องเที่ยว เป็นต้น

ประเทศที่เข้าร่วมงาน

ประเทศไทยได้รับการยืนยันเข้าร่วมงานอย่างเป็นทางการแล้วจากรัฐบาล 36 ประเทศจาก 5 ทวีป ได้แก่ ทวีปยุโรป อเมริกากลาง อเมริกาใต้ แอฟริกา และเอเชีย โดยมีประเทศต่างๆ แบ่งตามลักษณะการร่วมงาน ดังนี้

สวนภายนอกอาคาร

สวนภายนอกอาคารคือพื้นที่จัดแสดงกลางแจ้งประกอบด้วย 23 สวน จาก 22 ประเทศ ได้แก่ บังกลาเทศ เบลเยียม จีน กัมพูชา อิหร่าน ญี่ปุ่น เคนยา ลาว มอริเตเนีย โมร็อกโก เนปาล เนเธอร์แลนด์ แอฟริกาใต้ ซูดาน ตุรกี เวียดนาม สเปน อินโดนีเชีย อินเดีย มาเลเซีย ภูฏาน และกาตาร์ ทั้งนี้ ประเทศญี่ปุ่น มีการจัดแสดง 2 สวน คือสวนประเทศญี่ปุ่น และสวนคันไซ

สวนภายในอาคาร/ นิทรรศการหมุนเวียน

สวนภายในอาคาร และนิทรรศการหมุนเวียน เป็นพื้นที่จัดแสดงในร่ม ส่วนใหญ่เป็นการจัดแสดงชั่วคราว หมุนเวียนไปตลอดงาน ประกอบด้วยการจัดแสดงจากประเทศ สวิตเซอร์แลนด์ แคนาดา บรูไนดารุสซาลาม ไต้หวัน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ตูนิเซีย เคนยา ซูดาน ตรินิแดดและโตเบโก กาบอง บุรุนดี ไนจีเรีย มาดากัสการ์ ปากีสถาน บัลแกเรีย และเยเมน

ตุ๊กตาสัญลักษณ์ของงาน (mascots) มีอยู่ 9 ตัวคือ

  1. น้องคูน มีชื่อจริงว่า "ราชพฤกษ์" ซึ่งเป็นต้นไม้ประจำชาติไทย เป็นตุ๊กตาสัญลักษณ์งานมหกรรมพืชสวนโลก
  2. น้องกุหลาบ เป็นสัญลักษณ์สื่อแทน "ดอกกุหลาบควีนสิริกิติ์"
  3. นารี เป็นสัญลักษณ์สื่อแทน ดอกกล้วยไม้รองเท้านารี
  4. บัว เป็นสัญลักษณ์สื่อแทน ดอกบัว ดอกไม้ที่ได้รับการยกย่องให้เป็น "ราชินีแห่งไม้น้ำ"
  5. ก้านยาว เป็นสัญลักษณ์สื่อแทน "ทุเรียน" ผลไม้ที่ได้รับการยกย่องให้เป็น "ราชาของผลไม้"
  6. มังคุด เป็นสัญลักษณ์สื่อแทน "มังคุด" ผลไม้ที่ได้รับการยกย่องให้เป็น "ราชินีของผลไม้"
  7. ฝักบัว เป็นสัญลักษณ์สื่อแทน "ฝักบัวรดน้ำ"
  8. จ้อน เป็นสัญลักษณ์สื่อแทน "ผักกาด" ผักที่มีต้นกำเนิดอยู่ในทวีปเอเชีย
  9. ตาทุ่ง เป็นสัญลักษณ์สื่อแทน "หุ่นไล่กา"

 ที่มาของข้อมูล: วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ถ่ายเมื่อ 2 มกราคม 2553 สถานที่ : มหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯ ราชพฤกษ์ 2549 เชียงใหม่