«  March 2024  »
SunMonTueWedThuFriSat
 12
3456789
10111213141516
17181920212223
24252627282930
31 

Statistics

OS : Linux s
PHP : 5.3.29
MySQL : 5.5.5-10.11.6-MariaDB-1:10.11.6+maria~ubu2204
เวลา : 10:%M
Caching : ปิดการใช้งาน
GZIP : ปิดการใช้งาน
สมาชิก : 7
Content : 201
เว็บลิงก์ : 20
จำนวนครั้งเปิดดูบทความ : 4023105




ต้นไม้

รวบรวมต้นไม้ ดอกไม้ ที่เคยปลูกไว้ที่บ้าน บางต้นซื้อมาบ้าง แต่ส่วนใหญ่มีคนให้มาต้องขอบคุณไว้ด้วยครับ รูปบางรูปถ่ายไว้ตอนกำลังงามๆ บางรูปก็ถ่ายได้ครั้งเดียว เพราะไม่นานก็จากไป....



ลีลาวดี พิมพ์
เขียนโดย กัลยกร ภาคนนท์กุล   

ลีลาวดีลั่นทม เป็นไม้ดอกยืนต้นในสกุล Plumeria มีหลายชนิดด้วยกัน บางคนมีความเชื่อว่า ไม่ควรปลูกต้นลั่นทมในบ้าน เนื่องจากมีชื่อเป็นอัปมงคล คือไปพ้องกับคำว่า 'ระทม' ซึ่งแปลว่า เศร้าโศก ทุกข์ใจ แต่ปัจจุบันนิยมเรียกชื่อใหม่ ว่า ลีลาวดี และนิยมปลูกกันแพร่หลายอย่างมาก ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ ได้แก่ จำปา, จำปาลาว และจำปาขอม เป็นต้น (สำหรับชื่อภาษาอังกกฤษ ได้แก่ Frangipani, Plumeria, Templetree)

ลั่นทม เป็นไม้ที่นำมาจากเขมร ทางภาคใต้ เรียกชื่อว่า "ต้นขอม" "ดอกอม" ส่วนใหญ่ที่ปลูกกันเป็น "ลั่นทมขาว" เล่ากันว่า ไม้นี้นำเข้ามาปลูกในไทย เมื่อคราวไปตีนครธม ได้ชัยชนะ นำต้นไม้นี้เข้ามาปลูก และเรียกชื่อเป็นที่ระลึกว่า "ลั่นธม" "ลั่น" แปลว่า ตี เช่น ลั่นฆ้อง ลั่นกลอง "ธม" หมายถึง "นครธม" ภายหลัง "ลั่นธม" เพี้ยนเป็น "ลั่นทม"

ลั่นทมเป็นพืชนิยมปลูกเพราะดอกมีสีสันหลากหลาย สวยงาม ได้แก่ขาว เหลืองอ่อน แดง ชมพู ฯลฯ บางดอกมีมากกว่า 1 สี

ดอกลั่นทมยังเป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศลาว และพบได้มากบริเวณทางขึ้นพระธาตุที่เมืองหลวงพระบาง สำหรับในประเทศไทยนั้นมักพบต้นลั่นทมตามธรรมชาติทางภาคเหนือเป็นส่วนใหญ่

ความเชื่อ

คนโบราณมีความเชื่อว่า ต้นลั่นทมนั้น ไม่ควรปลูกในบ้าน ด้วยมีชื่ออัปมงคล คือไปพ้องกับคำว่า ระทม ซึ่งแปลว่า เศร้าโศก ทุกข์ใจ, จึงได้มีการเรียกชื่อเสียใหม่ให้เป็นมงคล ว่า ลีลาวดี ทั้งนี้ไม่ได้มีการกำหนดเปลี่ยนชื่อแต่อย่างใด

มีความเข้าใจผิดกันว่า ลีลาวดี นั้นเป็นชื่อพระราชทาน จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ แต่แท้ที่จริงแล้วเป็นชื่อพระราชทานจาก สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ[1]

ลีลาวดี ถ้าแปลตามความหมายตามอักษรแล้ว ก็คือต้นดอกไม้ที่มีท่วงท่าสวยงามอ่อนช้อย ไม้นี้เดิมเรียก ลั่นทม เป็นไม้ยืนต้นในเขตร้อน ที่เห็นทั่วๆไปมีดอกสีขาว แดง ชมพู ชื่อเดิมของพันธุ์ไม้นี้คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าคำนี้ มาจากคำว่า ระทม ซึ่งหมายถึงความเศร้าโศก จึงไม่เป็นที่นิยมปลูกในบริเวณบ้านหรือที่อยู่อาศัย อย่างไรก็ตามมีผู้มีความรู้ด้านภาษาไทยกล่าวถึงคำว่า ลั่นทม ว่า ลั่นทมที่เรียกกันแต่โบราณ หมายถึง การละแล้วซึ่งความโศกเศร้าแล้วมีความสุข ดังนั้นคำว่า ลั่นทม แท้จริงแล้วเป็นคำผสมจาก ลั่น+ทม โดยคำแรกหมายถึง แตกหัก ละทิ้ง และคำหลังหมายถึงความทุกข์โศก

มีตำนานเล่าขานถึงที่มาของลั่นทมในลักษณะต่าง ๆ กัน อย่างไรก็ตามพันธุ์ไม้นี้ตามหลักสากลมีชื่อว่า ฟรังกีปานี (frangipani) และเรียกกันทั่วไปว่า พลูมมีเรีย (plumeria)

ที่มาของข้อมูล: วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ถ่ายเมื่อ 3 มีนาคม 2553 สถานที่ : เชียงใหม่

ความในใจ :

 
ผีเสื้อราตรี พิมพ์
เขียนโดย กัลยกร ภาคนนท์กุล   

ผีเสื้อราตรีผีเสื้อราตรี Oxalis sp. ชื่อวงศ์: OXALIDACEAE ชื่อสามัญ: Indian park ชื่อท้องถิ่น: ปีกผีเสื้อ ลักษณะวิสัย: ไม้ล้มลุก ลักษณะทั่วไป: เป็นพืชล้มลุก มีหัว มีใบประกอบคล้ายนิ้วมือ มักจะหุบใบในเวลากลางคืน ใบ - ลักษณะใบประกอบคล้ายสามเหลี่ยม โดยมีมุมแหลมชนกัน มีสีชมพู - ม่วง ดอก - ออกดอกเป็นดอกเดี่ยว โดยก้านดอกออกจากก้านลำต้น มีสีชมพูม่วง มีกลีบดอก 5 กลีบ เป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีเกสรตัวผู้ 5-6 ตัว

ที่มาของข้อมูล: วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ถ่ายเมื่อ 31 มกราคม 2553 สถานที่ : เชียงใหม่

ความรู้สึก :

 
ผีเสื้อ พิมพ์
เขียนโดย กัลยกร ภาคนนท์กุล   

ชื่อวิทยาศาสตร์ Dianthus chinensis  ผีเสื้อ
ชื่อวงศ์ CARYOPHYLLACEAE
ชื่อสามัญ Dianthus
ชื่ออื่นๆ Pink, Indian pink, China pink, Rainbow pink, ผีเสื้อ
ถิ่นกำเนิด ยุโรปตอนใต้
การขยายพันธุ์ เพาะเมล็ด, ปักชำกิ่ง, เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

ประวัติและข้อมูลทั่วไป
            ผีเสื้อเป็นไม้ดอกสกุลเดียวกับ คาร์เนชั่น มีดอกสวยงามสะดุดตา ส่วนใหญ่มีดอกสีชมพู จึงได้ชื่อว่า pink ผีเสื้อ กับ คาร์เนชั่น นั้นมีข้อแตกต่างที่พอจะใช้สังเกตได้คือ
ดอกผีเสื้อไม่มีกลิ่น
ใบของผีเสื้อมีแผ่นใบกว้างกว่าของคาร์เนชั่น
ใบของคาร์เนชั่นมีสีเขียวอมเทาเงิน

 

 
บานเช้าสีเหลือง พิมพ์
เขียนโดย กัลยกร ภาคนนท์กุล   

ชื่อวิทยาศาสตร์: Turnera ulmifolia L. บานเช้าสีเหลือง
ชื่อวงศ์: TURNERACEAE
ชื่อสามัญ: Sage Rose
ชื่อท้องถิ่น: บานเช้าดอกเหลือง 
ลักษณะวิสัย: ไม้ล้มลุก
ลักษณะทั่วไป:  ไม้เนื้ออ่อนพุ่มเตี้ย ใบรูปไข่ปลายแหลมผิวใบสาก ออกดอกตามปลายยอดดอกเดี่ยวสีเหลืองสดมีกลีบดอก 5 ดอก จะบานตอนเช้าถึงกลางวัน
และจะหุบในตอนกลางคืนออกดอกได้ตลอดทั้งปีชอบแดดมาก นิยมปลูกเป็นแปลงขนาดใหญ่
จะแตกออกตรงโคนก้านใบตรงส่วนยอดของลำต้น ดอกมีสีม่วงสดหรือสีขาว ซึ่งดอกของหลิวไต้หวันนี้มีขนาดเล็กมาก ประมาณ 8 มิลลิเมตร และมีฐานรองดอกเป็น  รูปกรวยสีเขียวเหลือง ตรงปลายจะมีกลีบเล็กๆ อยู่ 5-6 กลีบ เป็นพรรณไม้กลางแจ้งที่ชอบแสงแดดจ้าทั้งวัน การปลูกเลี้ยงง่าย ขึ้นได้ทั่วไปโดยไม่เลือกดิน แต่เมื่อโตขึ้น  ควรจะเติมปุ๋ยให้ดีบ้าง ต้นจะได้ไม่ชะงักการเจริญเติบโต ต้องการน้ำและความชุ่มชื้นปานกลาง 
ประโยชน์: เป็นไม้ประดับ
การขยายพันธุ์: เพาะเมล็ด 

ที่มาของข้อมูล: sanook.com
ถ่ายเมื่อ 31 มีนาคม 2553 สถานที่ : เชียงใหม่

ความในใจ :

 
บานชื่น พิมพ์
เขียนโดย กัลยกร ภาคนนท์กุล   
  • ชื่อวิทยาศาสตร์: Zinnia violacea Cav. บานชื่น
  • ชื่อสามัญ: บานชื่น (อังกฤษ: Zinnia)
  • ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ:
  • ลักษณะ:เป็นไม้ล้มลุก มักมีขนสาก ระคายทั่วไป
  • ใบ:ใบเดี่ยวออกตรงข้าม แต่ละคู่ตั้งฉากกัน รูปไข่หรือรี ปลายมนหรือค่อนข้างแหลม
  • ดอก:ออกเป็นช่อที่ปลายยอด ริ้วประดับมีหลายวง ดอกมีสีแดง ชมพู ส้ม ม่วง หรืออื่นๆ
  • การดูแล:ดอกบานชื่นชอบอยู่กลางแจ้ง ดูแลรักษาง่าย
  • การขยายพันธุ์:เพาะด้วยเมล็ดหรือปักชำก็ได้
  • ประโยชน์:ปลูกเป็นไม้ประดับ เป็นแปลงใหญ่ เพื่อความสวยงาม หรือส่งขาย
  • ที่มาของข้อมูล: วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    ถ่ายเมื่อ 31 มกราคม 2553 สถานที่ : เชียงใหม่

    ความในใจ

     
    คุณนายตื่นสาย พิมพ์
    เขียนโดย กัลยกร ภาคนนท์กุล   

    คุณนายตื่นสาย (Portulaca grandiflora) เป็นพืชดอกล้มลุก ลำต้นและใบอวบน้ำ มีดอกหลายสีบานช่วงสายๆ

    คุณนายตื่นสาย

    ที่มาของข้อมูล: วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    ถ่ายเมื่อ 31 มกราคม 2553 สถานที่ : เชียงใหม่

    ความคิดเห็น :

     
    กระเจี๊ยบ พิมพ์
    เขียนโดย กัลยกร ภาคนนท์กุล   

     

  • กระเจี๊ยบแดงชื่อวิทยาศาสตร์: Hibiscus sabdariffa L.
  • ชื่อสามัญ: กระเจี๊ยบแดง (อังกฤษ: Roselle)
  • ชื่อพื้นเมืองอื่นๆ: ภาคเหนือเรียก ผักเก็งเค็ง ส้มเก็งเค็ง เงี้ยว แม่ฮ่องสอนเรียก ส้มปู จังหวัดตากเรียก ส้มตะแลงเครง ภาคกลางเรียก กระเจี๊ยบ กระเจี๊ยบเปรี้ยว ทั่วไปเรียก กระเจี๊ยบแดง  
  •  

     

     

  • ลักษณะ : กระเจี๊ยบแดง เป็นพืชสมุนไพรที่เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก สูงประมาณ 3–6 ศอก ลำต้นและกิ่งก้านมีสีม่วงแดง ใบมีหลายแบบด้วยกัน ขอบใบเรียบ บางทีก็มีรอยหยักเว้า 3 หยัก สีของดอกเป็นสีชมพู ตรงกลางดอกมีสีเข้มมากกว่าขอบนอกของกลีบ กลีบดอกร่วงโรยไป กลีบรองดอกและกลีบเลี้ยงก็จะเจริญเติบโตขึ้นอีกเกิดเป็นสีม่วงแดงเข้มหุ้มเมล็ดเอาไว้ภายใน
  • การขยายพันธุ์ : ใช้เมล็ดปลูก ควรปลูกในหน้าฝน พรวนดินก่อนปลูก ขุดหลุมปลูกหลุมละ 2-3 เมล็ด ระยะห่างของหลุมประมาณ ½-1 เมตร พอต้นอ่อนงอกออกมาแล้ว ให้ถอนต้นที่อ่อนแอกว่าออกไปเอาต้นที่แข็งแรงไว้ รดน้ำ ใส่ปุ๋ย พรวนดิน กำจัดวัชพืชออกให้หมด
  • ที่มาของข้อมูล: วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
    ถ่ายเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2553 สถานที่ : เชียงใหม่

     ความในใจ : ที่ตัดสินใจปลูกเพราะดอกกระเจี๊ยบก็สวยดี และที่สำคัญคือคนที่บ้านชอบดื่มน้ำกระเจี๊ยบก็เลยลองปลูกดู ปลูกง่าย โตเร็ว และอร่อยด้วย ชอบค่ะ

     
    บทความ อื่นๆ ...
    << เริ่มแรก < ย้อนกลับ 1 2 ถัดไป > สุดท้าย >>

    หน้า 1 จาก 2